วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

4. ความหมายของ "ความไว Shutter" และ "ขนาดรูรับแสง"

ความหมายของ "ความไว Shutter" และ "ขนาดรูรับแสง"

     สำหรับท่านที่ไม่เคยถ่ายภาพมาก่อน อาจจะต้องเสียเวลาศึกษาพื้่นฐานของการถ่ายภาพตรงนี้นิดนึงนะครับ
แต่เป็นพื้นฐานที่ถ้าเข้าใจแล้ว สามารถนำไปใช้ได้ตลอด

- ความไว Shutter (Shutter Speed)

     อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ shutter speed เปรียบเหมือนการกระพริบตาของเรา ถ้าเรากระพริบตาเร็วๆ ปริมาณแสงที่เข้า
ไปยังดวงตาของเราก็จะน้อยลง shutter speed จะมีค่าเป็นวินาที เช่น 1/250 หมายถึง ความเร็ว 0.004 วินาที
หรือ 1/2000 หมายถึงความเร็ว 0.0005 วินาที (เร็วมากๆๆ) ซึ่งความเร็ว shutter สูงๆ จะใช้สำหรับหยุดการเคลื่อน
ไหว เช่นการถ่ายภาพรถแข่ง การถ่ายภาพหยอดน้ำ การถ่ายภาพเด็กซนๆ ที่ต้องการให้ภาพหยุด ณ วินาทีนั้น


ส่วนค่า shutter speed ที่ช้าๆ เช่น 1" , 15"
** 1" หมายถึง 1 วินาที จะใช้ในกรณีที่ต้องการให้ภาพมีความเคลื่อนไหว หรือ ภาพที่มีแสงน้อยๆ เช่น ถ่ายภาพน้ำตก ถ่ายภาพวิวเวลากลางคืน เป็นต้น

- ค่ารูรับแสง (Aperture value) 

     เหมือนการที่เราหรี่ตาเวลาที่อยู่กลางแดดจ้าๆ และลืมตา กว้างเวลาที่เราอยู่ในที่มืดๆ เพื่อให้ตาเรารับแสงได้พอดี โดยส่วนใหญ่มักจะเรียกค่าเป็น F-Stop และจะมีค่าเป็น เลขยกกำลังของ เช่น เลนส์ที่ F กว้างๆ อย่าง F1.4 มาจาก ยกกำลัง 1 = 1.4 นั่นเอง ถ้าเลขยิ่งน้อย ขนาดของรูรับแสงยิ่งกว้าง ดังภาพ


- ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง

     การตั้งความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสง ต้องมีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้ได้ปริมาณแสงที่พอเหมาะในการบันทึกภาพ ซึ่งในสภาพแสงเดียวกัน และเลือกค่าความไวแสงเท่ากัน สามารถตั้งค่าที่เหมาะสมได้หลายค่า ตามตัวอย่าง เช่น

ความเร็วชัตเตอร์ขนาดรูรับแสง
1/4000f/1.4
1/2000f/2
1/1000f/2.8
1/500f/4
1/250f/5.6
1/125f/8
1/60f/11
1/30f/22


- การตั้งความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสง

     การเลือกคู่ที่เหมาะสมตามตัวอย่างในหัวข้อ ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง ให้พิจารณาได้จากปัจจับต่างๆ  ดังนี้

1. ความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุที่จะถ่าย

    วัตถุที่เคลื่อนที่เร็ว แต่เราต้องการภาพชัด ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดเท่าที่กล้องจะทำได้ แต่ถ้าเป็นวัตถุที่อยู่นิ่งนั้น สามารถเลือกความเร็วชัตเตอร์เท่าไรก็ได้

2. ความชัดลึกของวัตถุที่จะถ่าย
    ขนาดรูรับแสงเล็ก เช่น f/22 จะให้ความชัดลึกมากกว่าขนาดรูรับแสงกว้าง เช่น f/1.4 ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญมากในการถ่ายภาพระยะใกล้ หรือใช้เลนส์ถ่ายไกลในการถ่ายภาพ

- การชดเชยแสง

      เป็นการปรับปริมาณแสงในการบันทึกภาพให้แตกต่างไปจากค่าที่ได้จากเครื่องวัดแสง เช่น การถ่ายภาพย้อนแสงนั้น ค่าที่ได้จากเครื่องวัดแสง มักจะได้ค่าที่ทำให้วัตถุค่อนข้างมืด การชดเชยแสง โดยเพิ่มแสงมากกว่าที่วัดแสงได้ หรืออีกกรณีหนึ่งคือ การถ่ายภาพวัถตุที่อยู่หน้าฉากหลังสีดำ ค่าที่ได้จากเครื่องวัดแสงมักจะได้ค่าที่ทำให้วัตถุค่อนข้างสว่างเกินไป การชดเชยแสงทำได้โดยลดแสงให้น้อยกว่าที่วัดแสงได้ เป็นต้น

- การเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสงเพื่อชดเชยแสง

     ในการชดเชยแสงนั้น นิยมปรับเปลี่ยน เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งคือความเร็วชัตเตอร์ หรือ ขนาดรูรับแสง หลักการชดเชยแสงก็มีเพียงสองทาง คือ เพิ่มแสง หรือลดแสง

- การเพิ่มแสง

     การปรับที่ความเร็วชัตเตอร์ คือ การลดความเร็วชัตเตอร์ลง เช่น วัดแสงได้ 1/500 วินาที เพิ่มแสง 1 ระดับก็ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์เป็น 1/250 ยึดหลักว่าถ้าชัตเตอร์ปิดช้าลงก็จะต้องได้แสงมากขึ้นแน่นอน หากเพิ่มแสงโดยปรับที่ขนาดรูรับแสงก็ต้องเพิ่มขนาดรูรับแสงให้ใหญ่ขึ้น เช่น วัดแสงได้ f/4 เพิ่มแสง 1 ระดับก็ต้องเปลี่ยนเป็น f/2.8

- การลดแสง

     การปรับที่ความเร็วชัตเตอร์ คือ การเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ เช่น วัดแสงได้ 1/500 วินาที ลดแสง 1 ระดับ ก็ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์เป็น 1/1000 คือให้ชัตเตอร์ปิดเร็วขึ้นเท่าตัวนั่นเอง หากลดแสงโดยปรับที่ขนาดรูรับแสง ก็ต้องลดขนาดรูรับแสงให้เล็กลง เช่น วัดแสงได้ f/4 ลดแสง 1 ระดับ ก็ต้องเปลี่ยนเป็น f/5.6



ขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.pattanapan.com/basic_photography2.htm,http://www.vcharkarn.com/vblog/39984/4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น