ถ่ายภาพฉากหลังดำ
จากลักษณะของภาพแนวนี้ที่ฉากหลังเป็นสีดำ อธิบายกันได้ง่ายๆ ว่าต้องมีเฉพาะตัวแบบเท่านั้นที่เกิดการสะท้อนกับแสงแล้วเข้ามาสู่กล้อง ในความเป็นจริงแล้วอาจจะดูเหมือนว่าเป็นไปได้ยากในการควบคุมให้เกิด สิ่งนี้ได้เพราะในสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปนั้นก็ ย่อมมีการสะท้อนแสงของสิ่งต่างๆ เป็นปกติอยู่แล้ว หากจะทำแบบนั้นได้เห็นทีจะต้องถ่าย ภาพภายในห้องปิดทึบเสียละกระมัง?
หากเป็นการมองด้วยสายตาปกติแล้วจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ แต่ถ้าเป็นการถ่ายภาพแล้วเราสามารถทำให้มันเกิดขึ้นได้ในสภาพ ปกติ ด้วยการควบคุมคุณสมบัติการเปิดรับ แสงของกล้อง ไม่ว่าจะเป็นรูรับแสงหรือสปีดชัตเตอร์ เพราะหลักการบันทึกภาพของกล้อง ถ่ายภาพก็คือการบันทึกแสงที่สะท้อนเข้ามา ยังกล้อง หากเราควบคุมให้มันเก็บแสงบางช่วง ที่ต้องการเข้ามาได้ และปิดกั้นบางช่วง (ซึ่งในที่นี้ก็คือแสงของฉากหลัง) ก็จะหมายความว่า ส่วนที่แสงไม่สามารถเข้าสู่กล้องได้ก็จะมืด สนิทเป็นสีดำไปนั่นเอง
ปัจจัยที่จะส่งผลในเรื่องนี้ก็คือทั้งสปีด ชัตเตอร์และรูรับแสง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสปีด ชัตเตอร์จะเป็นตัวที่มีผลต่อการปิดกั้นแสงเป็น อย่างมาก เราคงเคยถ่ายภาพด้วยสปีดชัตเตอร์ความเร็วสูงแล้วเกิดอาการภาพ "อันเดอร์" มาบ้างแล้ว จะเห็นได้ว่ามันทำให้ภาพถ่ายที่ได้ดู มืดมากไปกว่าความเป็นจริง หากเราจะทำให้ภาพทั้งหมดเป็นสีดำสนิท ก็คือการใช้สปีดชัตเตอร์ที่มีความเร็วสูงยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งก็หมายความว่าแสงสว่างจะเข้าได้น้อยลงเรื่อยๆ จนะกระทั่งไม่สามารถบันทึกแสงได้ทัน หรือภาพมืดสนิททั้งภาพนั้นเอง
ในขณะเดียวกัน เราก็ทำการเพิ่มแสงเข้าไปยังตัวแบบโดยใช้อุปกรณ์อื่นๆ เข้าร่วมก็จะทำให้ตัวแบบซึ่งมีแสงสะท้อนมากกว่าปริมาณแสงในสภาพแวดล้อมซึ่งสามารถบันทึกได้ด้วยกล้องถ่ายภาพ หากมองในทางกลับกัน หากเราเพิ่มแสงเข้าไปยังตัวแบบ แต่ใช้ค่าเปิดรับแสงปกติ สภาพแวดล้อมก็จะพอดี แต่ตัวแบบก็จะสว่างจ้าหรือมักจะเรียกกันว่า "โอเวอร์"
อุปกรณ์เสริมที่สำคัญสำหรับการถ่ายภาพแบบนี้ก็คือ "แฟลช" เพื่อเพิ่มแสงให้กับตัวแบบโดยเฉพาะ
หากเป็นการมองด้วยสายตาปกติแล้วจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ แต่ถ้าเป็นการถ่ายภาพแล้วเราสามารถทำให้มันเกิดขึ้นได้ในสภาพ ปกติ ด้วยการควบคุมคุณสมบัติการเปิดรับ แสงของกล้อง ไม่ว่าจะเป็นรูรับแสงหรือสปีดชัตเตอร์ เพราะหลักการบันทึกภาพของกล้อง ถ่ายภาพก็คือการบันทึกแสงที่สะท้อนเข้ามา ยังกล้อง หากเราควบคุมให้มันเก็บแสงบางช่วง ที่ต้องการเข้ามาได้ และปิดกั้นบางช่วง (ซึ่งในที่นี้ก็คือแสงของฉากหลัง) ก็จะหมายความว่า ส่วนที่แสงไม่สามารถเข้าสู่กล้องได้ก็จะมืด สนิทเป็นสีดำไปนั่นเอง
ปัจจัยที่จะส่งผลในเรื่องนี้ก็คือทั้งสปีด ชัตเตอร์และรูรับแสง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสปีด ชัตเตอร์จะเป็นตัวที่มีผลต่อการปิดกั้นแสงเป็น อย่างมาก เราคงเคยถ่ายภาพด้วยสปีดชัตเตอร์ความเร็วสูงแล้วเกิดอาการภาพ "อันเดอร์" มาบ้างแล้ว จะเห็นได้ว่ามันทำให้ภาพถ่ายที่ได้ดู มืดมากไปกว่าความเป็นจริง หากเราจะทำให้ภาพทั้งหมดเป็นสีดำสนิท ก็คือการใช้สปีดชัตเตอร์ที่มีความเร็วสูงยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งก็หมายความว่าแสงสว่างจะเข้าได้น้อยลงเรื่อยๆ จนะกระทั่งไม่สามารถบันทึกแสงได้ทัน หรือภาพมืดสนิททั้งภาพนั้นเอง
ในขณะเดียวกัน เราก็ทำการเพิ่มแสงเข้าไปยังตัวแบบโดยใช้อุปกรณ์อื่นๆ เข้าร่วมก็จะทำให้ตัวแบบซึ่งมีแสงสะท้อนมากกว่าปริมาณแสงในสภาพแวดล้อมซึ่งสามารถบันทึกได้ด้วยกล้องถ่ายภาพ หากมองในทางกลับกัน หากเราเพิ่มแสงเข้าไปยังตัวแบบ แต่ใช้ค่าเปิดรับแสงปกติ สภาพแวดล้อมก็จะพอดี แต่ตัวแบบก็จะสว่างจ้าหรือมักจะเรียกกันว่า "โอเวอร์"
อุปกรณ์เสริมที่สำคัญสำหรับการถ่ายภาพแบบนี้ก็คือ "แฟลช" เพื่อเพิ่มแสงให้กับตัวแบบโดยเฉพาะ
วิธีการ
วัดแสงด้วยกล้องไปที่ฉากฉากหลัง โดยเลือระบบวัดแสงเป็นแบบเฉพาะจุดหรือหนักกลางภาพ ดูว่าปริมาณแสงในขณะนั้นเท่าไหร่? จากนั้นทำการปรับค่าการเปิดรับแสงให้ภาพที่ออกมาดูมืดสนิทเช่น หากวัดที่เหมาะสม (ปกติ) ที่ 1/125 F8 ก็เลือกสปีดชัตเตอร์ที่ 1/500 หรือเร็วกว่านั้นเพื่อให้ภาพออกมามืดสนิท อาจจะทดลองถ่ายภาพดูฏ่อนสักหนึ่งภาพก็ได้ว่าค่าการเปิดรับแสงทำให้ภาพมืดสนิทได้หรือไม่
จากนั้นเปิดใช้แฟลช แล้วลองถ่ายภาพดูอีกครั้ง แสงแฟลชจะยิงตรงไปข้างหน้ากระทบกับตัวแบบแล้ววิ่งกลับเข้ามาสู่กล้องทันการปิดรับแสงของชัตเตอร์ แต่แสงที่วิ่งเลยไปข้างหลังจะสะท้อนกลับมาไม่ทัน (ชัตเตอร์ปิดเสียก่อน) จึงยังทำให้ฉากหลังมืดสนิทเหมือนเดิมในขณะที่ตัวแบบที่โดนแสงก่อนเกิดความสว่างขึ้นในภาพ
นั่นคือหลักและวิธีการแบบคร่าวๆ ซึ่งมันก็อาจจะเพียงพอสำหรับการถ่ายภาพหลังดำของคุณ แต่สิ่งที่คุณอาจจะต้องพิจารณาเพิ่ม เติมมีดังนี้ :
-ฉากหลังอยู่ห่างจากตัวแบบหรือไม่? เพราะถ้าฉากหลังมีระยะที่ใกล้กับตัวแบบ มัน ก็จะโดนแสงแฟลชในเวลาใกล้เคียงกับตัวแบบ และเกิดความสว่างขึ้นเช่นกัน นี่คือปัจจัยที่จะ ทำให้ภาพหลังดำของคุณไม่สามารถเกิดขึ้นได้
-เลือกใช้ค่าความไวแสง (ISO) ต่ำสุด เพราะนอกจากคุณภาพของภาพจะดีที่สุดแล้วยังทำให้ฉากหลังยิ่งดำสนิทด้วย
-หากคุณใช้สปีดชัตเตอร์ที่สูงเกินไป แม้แต่ตัวแบบก็อาจจะสะท้อนแสงกลับมาไม่ทัน เช่น คุณคิดจะใช้สปีดชัตเตอร์ที่ 1/4000 เพื่อความชัวร์ว่าดำจริงๆ แสงแฟลชก็อาจจะ ช่วยไม่ได้เช่นกัน (เพราะชัตเตอร์ปิดเร็วเกิน ไป) ทางที่ดีก็คือเลือกใช้สปีดชัตเตอร์แค่พอ ทำให้ภาพมืดได้ก็เหมาะสมแล้ว
คุณอาจจะต้องปรับกำลังแสงแฟลชร่วมด้วยในกรณีที่ปริมาณแสงแฟลชยังน้อย หรือมากเกินไป กล้องทุกตัวสามารถปรับลด/ เพิ่มกำลังแสงแฟลชได้ ศึกษามันได้จากคู่มือ กล้องของคุณ
-สปีดชัตเตอร์เป็นปัจจัยหลักในภาพแบบหลังดำ แต่คุณสามารถใช้คุณสมบัติของ รูรับแสงได้ด้วยเช่นกัน การบีบรูรับแสงให้แคบ เข้าก็จะทำให้แสงเข้าได้น้อยยิ่งขึ้น อย่างไรก็ ตาม คุณควรพิจารณาในแง่ของความชัดลึก/ ชัดตื้นเป็นสำคัญเมื่อจะปรับใช้รูรับแสงร่วมด้วย
-เลือกใช้ค่าความไวแสง (ISO) ต่ำสุด เพราะนอกจากคุณภาพของภาพจะดีที่สุดแล้วยังทำให้ฉากหลังยิ่งดำสนิทด้วย
-หากคุณใช้สปีดชัตเตอร์ที่สูงเกินไป แม้แต่ตัวแบบก็อาจจะสะท้อนแสงกลับมาไม่ทัน เช่น คุณคิดจะใช้สปีดชัตเตอร์ที่ 1/4000 เพื่อความชัวร์ว่าดำจริงๆ แสงแฟลชก็อาจจะ ช่วยไม่ได้เช่นกัน (เพราะชัตเตอร์ปิดเร็วเกิน ไป) ทางที่ดีก็คือเลือกใช้สปีดชัตเตอร์แค่พอ ทำให้ภาพมืดได้ก็เหมาะสมแล้ว
คุณอาจจะต้องปรับกำลังแสงแฟลชร่วมด้วยในกรณีที่ปริมาณแสงแฟลชยังน้อย หรือมากเกินไป กล้องทุกตัวสามารถปรับลด/ เพิ่มกำลังแสงแฟลชได้ ศึกษามันได้จากคู่มือ กล้องของคุณ
-สปีดชัตเตอร์เป็นปัจจัยหลักในภาพแบบหลังดำ แต่คุณสามารถใช้คุณสมบัติของ รูรับแสงได้ด้วยเช่นกัน การบีบรูรับแสงให้แคบ เข้าก็จะทำให้แสงเข้าได้น้อยยิ่งขึ้น อย่างไรก็ ตาม คุณควรพิจารณาในแง่ของความชัดลึก/ ชัดตื้นเป็นสำคัญเมื่อจะปรับใช้รูรับแสงร่วมด้วย
ที่กล่าวไปแล้วนั้นหมายถึงการใช้แฟลช หัวกล้อง (ป๊อบ-อัพ) ในการให้แสงกับตัวแบบ แต่สำหรับนักถ่ายภาพหลังดำแบบมืออาชีพ หรือระดับสมัครเล่นแต่จริงจัง จำเป็นต้องมี แฟลชแยก (External Flash) และสายแยก แฟลชหรือคุณสมบัติในการแยกแฟลชออกจากตัวกล้อง ยิ่งเป็นระบบไร้สายได้ก็ยิ่งดี เพราะจะช่วยให้เรามีอิสระในการบังคับควบ คุมทิศทางมากขึ้น
แฟลชป๊อบ-อัพสามารถใช้ถ่ายภาพหลังดำได้ แต่จุดอ่อนก็คือไม่สามารถเปลี่ยน ทิศทางของแสงได้ อีกทั้งยังมีกำลังแสงสูงสุด น้อยกว่า ซึ่งจุดด้อยโดยรวมแล้วมันอาจจะ ให้ภาพหลังดำได้ แต่อาจจะไม่ค่อยสวยเท่า ไหร่นัก
ส่วนแฟลชแยกมีข้อดีคือมีกำลังแสงสูงสุดมากกว่าหลายเท่า แต่ถ้าคุณไม่สามารถแยกแฟลชออกจากตัวกล้องได้แล้ว ก็แทบจะเหมือนกับคุณมีแฟลชป๊อบ-อัพที่มีกำลังสูงกว่าเดิมเท่านั้นเอง
นักถ่ายภาพมาโครจะต้องใช้คุณสมบัติในการแยกแฟลชออกจากตัวกล้องแทบทั้งสิ้นเพราะการควบคุมทิศทางของแสงแฟลชได้จะทำให้สามารถสร้างสรรค์ภาพหลังดำที่มีอารมณ์แสงได้หลากหลายรูปแบบ เช่นจำลองแสงอาทิตย์ยามเช้า โดยการยิงทำมุมเฉียงมาจากด้านบน หรือภาพที่ดูลึกลับน่ากลัวโดยการยิงแสงย้อนขึ้นมาจากด้านใต้ และยังมีแสงนุ่ม-แสงแข็ง และที่สำคัญก็คือ แม้ฉากหลังจะอยู่ใกล้กับตัวแบบก็ยังสามารถถ่ายภาพหลังดำได้โดยการควบคุมทิศทางไม่ให้แสงวิ่งไปกระทบกับฉากหลัง ให้โดนเฉพาะตัวแบบเท่านั้น ซึ่งต่างกับแฟลชป๊อบ-อัพอย่างสิ้นเชิง
แฟลชป๊อบ-อัพสามารถใช้ถ่ายภาพหลังดำได้ แต่จุดอ่อนก็คือไม่สามารถเปลี่ยน ทิศทางของแสงได้ อีกทั้งยังมีกำลังแสงสูงสุด น้อยกว่า ซึ่งจุดด้อยโดยรวมแล้วมันอาจจะ ให้ภาพหลังดำได้ แต่อาจจะไม่ค่อยสวยเท่า ไหร่นัก
ส่วนแฟลชแยกมีข้อดีคือมีกำลังแสงสูงสุดมากกว่าหลายเท่า แต่ถ้าคุณไม่สามารถแยกแฟลชออกจากตัวกล้องได้แล้ว ก็แทบจะเหมือนกับคุณมีแฟลชป๊อบ-อัพที่มีกำลังสูงกว่าเดิมเท่านั้นเอง
นักถ่ายภาพมาโครจะต้องใช้คุณสมบัติในการแยกแฟลชออกจากตัวกล้องแทบทั้งสิ้นเพราะการควบคุมทิศทางของแสงแฟลชได้จะทำให้สามารถสร้างสรรค์ภาพหลังดำที่มีอารมณ์แสงได้หลากหลายรูปแบบ เช่นจำลองแสงอาทิตย์ยามเช้า โดยการยิงทำมุมเฉียงมาจากด้านบน หรือภาพที่ดูลึกลับน่ากลัวโดยการยิงแสงย้อนขึ้นมาจากด้านใต้ และยังมีแสงนุ่ม-แสงแข็ง และที่สำคัญก็คือ แม้ฉากหลังจะอยู่ใกล้กับตัวแบบก็ยังสามารถถ่ายภาพหลังดำได้โดยการควบคุมทิศทางไม่ให้แสงวิ่งไปกระทบกับฉากหลัง ให้โดนเฉพาะตัวแบบเท่านั้น ซึ่งต่างกับแฟลชป๊อบ-อัพอย่างสิ้นเชิง
การถ่ายภาพในเทคนิคแบบ "ภาพหลังดำ" นี้หาใช่เป็นเพียงภาพที่ถ่าย เพื่อเอาสวยเอาสนุกแต่อย่างเดียวเท่านั้น เรายังสามารถนำเทคนิคนี้ไปใช้งาน เชิงพาณิชย์ได้อีกด้วย เช่น การถ่ายภาพสินค้า หรือการถ่ายภาพบุคคล เพราะ สินค้าบางประเภทก็ไม่ต้องการองค์ประกอบภาพอื่นๆ การที่ฉากหลังสีดำจะ ยิ่งขับเน้นให้ตัวสินค้าดูโดดเด่นสะดุดตามากกว่าปกติหรือในการถ่ายภาพบุคคลก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึงในแง่ของความโดดเด่น ยิ่ง เมื่อใช้เทคนิคนี้ร่วมกับการจัดแสงในแบบอื่นๆ ด้วยแล้ว จะยิ่งส่งผลให้ภาพ ดูน่าสนใจและมีพลังมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมจะเห็นได้ว่าการถ่ายภาพเทคนิค "หลังดำ" นั้นมีความสำคัญไม่ใช่น้อย การฝึกฝนและทำความเข้าใจเอาไว้ล่วงหน้าจะทำให้เราเข้าใจมันได้ดียิ่งขึ้น แม่นยำยิ่งขึ้นกว่าเดิม ไม่มีสูตรตายตัวว่าต้องใช้ค่าเท่านั้นเท่านี้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับสภาพแสงแวดล้อมร่วมด้วย ดังนั้น "ค่าประสบการณ์" คือสิ่งที่จะช่วยได้ดีที่สุดสำหรับการประสบความสำเร็จของภาพหลังดำ ยิ่งถ่ายมากยิ่งมีความชำนาญมาก
ขอบคุณแล่งที่มา : http://www.tsdmag.com/photo-tutor/advanced/black-background/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น