วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

Review - Sigma 12-24mm EX DG HSM


เมื่อพูดถึงเลนส์ Wide จาก Sigma ก็ต้องยอมรับว่ามีเลนส์หลายรุ่นที่คุ้นเคย เช่น Sigma 10-20mm F3.5 หรือ Tamron 10-24mm F3.5-5.6 ส่วนเลนส์ที่นำมาเสนอกันในวันนี้ก็คือ Sigma 12-24mm F4.5-5.6 EX DG HSM ซึ่งในปัจจุบันก็เป็นรุ่น II แล้ว เป็นเลนส์ที่สามารถใช้ได้ทั้งกล้องชนิด Full Frame และกล้องตัวคูณ  โดยมีองศารับภาพกว้างมากที่ระยะ 12mm กว้างกว่า 14-24mm Nano พอสมควรทีเดียว
เป้าหมายของเลนส์ 12-24mm จากทาง Sigma นั้นต้องถือเป็นเลนส์ที่น่ากลัวเนื่องจาก ช่วง 12-24mm นั้นเป็นช่วงที่เลนส์ค่ายอื่นๆ เอง หรือแม้กระทั่งเลนส์ค่ายก็ยังไม่มีช่วงนี้ให้ใช้กัน เลนส์ 12-24mm นี้ทำมาให้ใช้ได้กับกล้อง Full Frame และกล้องตัวคูณ เป็นเลนส์ยิงนกนักเดียวใช้ได้กับกล้องทั้งสองประเภท
12mm กว้างใหญ่ไพศาลขนาดไหนนั้น เอาง่ายๆ คือ ถ้าเคยถ่ายภาพจากกล้อง Full Frame ที่ 17mm เราจะสามารถถอยออกจากจุดเดิมได้อีกประมาณ 5-7 ก้าว หรือถ้าเอาทางเทคนิค เลนส์ 17mm ให้ความกว้าง 104 องศา แต่สำหรับ เลนส์ช่วง 12mm ก็จะให้ความกว้าง 122 องศา 18 องศาที่เพิ่มขึ้นนั้น ต้องยอมรับว่า เลนส์นี้ให้ความกว้างแบบพิสดาร มากกว่าสายตามนุษย์ปกติอยู่เยอะทีเดียว
เวอร์ชั่นที่ใหม่กว่านั้นได้ปรับปรุงให้ไม่ให้มีส่วนของการเคลือบยางมากนัก ทำให้ปัญหาการลอกที่ผิวลดลง เนื่องจากเลนส์ตัวที่จะรีวิวให้ดูนั้น ค่อนข้างจะลอกได้ง่าย เช่นกัน นอกจากนี้ก็ยังขยับ Hood อออกมาไม่ให้ติดกับหน้าเลนส์มากเกินไป ซึ่งข้อดีคือปัญหาติดขอบน่าจะลดลงในทางทฤษฏี
แต่ด้วยราคาของเลนส์แบบ All-in-one แบบนี้ก็อาจจะทำให้มีราคาที่ค่อนข้างจะสูง ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่ถ้าคุณอยากได้เลนส์ Wide และอาจจะต้องใช้ทั้งกล้อง Full Frame พร้อมๆ กับกล้องตัวคุณ เลนส์ Wide 12-24mm จาก Sigma เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจอย่างมาก
ตัวที่จะนำมารีวิวให้ได้ชมเป็นตัวเก่าครับ แม้ว่าจะไม่นิยมมากเท่ากับ EF 17-40mm 4L หรือ 14-24mm Nano เลนส์ตัวนี้ก็ยังคงมีคนใช้อยู่บ้างและต้องการความคุ้มค่า ในราคาที่ก็ต้องถือว่าแพงนิดหน่อย ถ้าเป็นรุ่น I ก็จะอยู่ที่ประมาณ 25900 บาท แต่ถ้าเป็นตัวใหม่ก็จะอยู่ที่ 31500 บาท โดยประมาณครับ
ส่วนสเปคของเลนส์นั้นก็ค่อนข้างที่จะน่าสนใจทีเดียว ภายในมีเลนส์ 16 ชิ้น แบ่งเป็น 12 กลุ่ม มุมรับภาพสูงสุด 122 องศา (บอกได้เลยครับว่ากว้างมากๆ ถ่ายแล้วเก็บไม่หมดไม่มีแน่นอน) กลีบไดอะแฟรมแบบ 6 กลีบ (เดี๋ยวดูผล) น้ำหนักหนักได้โล่ทีเดียวคือ 600g



Body & Design

เมื่อพูดถึงเลนส์ Wide ส่วนสำคัญก็คือ หน้าเลนส์ขนาดใหญ่แบบมากๆ ไม่เชื่อก็ลองไปดูอย่าง 14-24mm Nano ของ Nikon สิครับ นึกว่าหัวมนุษย์ต่างดาว สำหรับ Sigma 12-24mm ก็ต้องบอกครับว่าแค่ เบาๆ ฝาปิดเลนส์เป็นแบบดึงออกมาโดยตรงเลยครับ และสามารถที่จะเปิดแบบฝาเลนส์ออกมาอย่างเดียวโดยเหลือ วงแหวนไว้ได้ด้วยเช่นกัน
หน้าเลนส์ขนาด 82mm หัวปูดบวม มากๆ เพื่อให้สามารถรับภาพได้กว้างสูงสุด การมีฮู้ดแบบถาวรก็ช่วยปกป้องเลนส์ได้เป็นอย่างดี แต่เวลาที่ผมใช้งาน ก็จะถอดออกมา ถ้าไม่ได้ใช้ยังไงก็คงต้องปิดไว้ การโค้ชติ้งถือว่าทำมาได้ดี แม้ว่าย้อนแสงจะออกมาไม่สวยงาม แต่โค้ชตติ้งนั้นก็น่าจะทนอยู่ครับ โค้ชเป็นสีแดง เฉกเช่น Sigma  10-20mm
ฝาที่เปิดได้ 2 แบบนั่นคือ ถอดออกทั้งหมดเหมือนภาพแรก หรือจะถอดออกมาเฉพาะฝาหน้าสปริงแบบนี้ก็ได้ แต่จะสามารถถ่ายภาพได้ที่ 20mm กับ 24mm เท่านั้น ที่เหลือต่ำกว่านั้นจะเป็นขอบดำ ต้องถอดวงแหวนนี้ออกอีกครั้งจึงจะหายไป
ส่วนเม้าท์ที่เป็นเหล็ก ค่อนข้างมั่นใจได้ดี แต่บอดี้เป็นพลาสติกครับ มองในแง่ดีก็ช่วยซับแรง แต่มองในแง่ร้าย อาจจะไม่ทนทานเท่าใดนัก ผู้เขียนเองก็ทำหล่นมาหนึ่งรอบ ประมาณ 50 cm บนพื้นนิ่มๆ ก็ยังไม่พบอาการผิดปกติ แสดงว่าเลนส์ Sigma เขาทนใช้ได้อยู่นะ
ตัวเลขบอกระยะที่ชัดเจน จะเห็นได้ว่าการแบ่งช่วงซูมออกเป็น 24 20 17 15 และ 12 ตามลำดับ
เทียบกับเลนส์ Kit ต้องถือได้ว่าใหญ่โตมโหฬาร น่าจะใหญ่กว่า Kit ได้ประมาณ 2 เท่าก็ว่าได้
หน้าเลนส์ 82mm เทียบกับเลนส์ Kit 58mm
เมื่อติดตั้งเข้าไปที่กล้องเป็นอย่างไรกันบ้าง หล่อมากๆ และทำให้กล้องเล็กๆ อย่าง 550D หัวทิมได้ แต่ถ้า 5D ของผมไม่หัวทิ่มครับ ฉะนั้นถ้าจะใช้งานจริงๆ กล้องเล็กๆ มีความจำเป็นต้องติดกริ๊ปครับ มิฉะนั้นจะไม่สมดุลอย่างรุนแรง 
การจับถือ การโฟกัส ไม่เงียบเท่าใดนัก แต่เร็ว อารมรณ์เดียวกับการใช้ Sigma 10-20mm
ยิงแฟลชหัวกล้องจะเกิดอะไรขึ้น ขอบดำแน่นอนครับ เพราะฮู้ดมีขนาดใหญ่จนเกินไป
พอถอดเลนส์ออกมาก็พบว่ามีขนาดเดียวกับกล้องเลย รูรับแสงของเลนส์นี้อาจจะแคบไปนิดนึง แต่ถ้าขยันพกขาตั้งได้ก็จะเป็นอีกหนึ่งเลนส์ที่ให้คุณภาพของภาพที่สวยงาม

Sample Picture

หลังจากที่ได้ใช้เลนส์นี้ออกงานมาประมาณครั้งสองครั้ง ก็จะทดลองในการไปเที่ยวจริงๆ และบอกเล่าแง่มุมต่างๆ ของเลนส์ตัวนี้มาให้ฟังกันครับ เริ่มต้นที่อุโบสถหินอ่อนที่มีขนาดใหญ่มากๆ นั่นคือ วัดหลวงพ่อโสธร บอกแล้วครับ จะใหญ่ จะอลังการแค่ไหน เลนส์เอาอยู่หมด
ปกติคุณก็จะสามารถถ่ายภาพที่ 24mm จากเลนส์เดิมๆ ของคุณ
เปลี่ยนซูมเป็น 12mm อลังการไม๊ครับ และผมไม่ได้ขยับจากจุดเดิมด้วย
อีกซักรอบกับ 12mm ในโบสถ์หินอ่อน
ลดระยะลงมาเหลือ 24mm องค์พระ บรรยากาศ หายไปเยอะทีเดียว
24mm กับด้านนอกพระอุโบสถ
20mm กันดูบ้าง ได้ด้านหน้าอุโบสถกลับมาแล้ว
17mm ช่วงที่เลนส์ทั่วๆ ไป ทำได้ ผมก็ยังยืนอยู่ที่เดิม
15mm จะเห็นได้ว่า เริ่มมองเห็นส่วนของกำแพงแล้วครับ
12mm กับการเก็บทุกอย่างไว้ในมือคุณ สามารถบีบตัวพระอุโบสถไปอยู่ตรงกลางภาพได้ นี่แหละเลนส์กว้างที่สุดแห่ง 3 โลก
ความตรงไม่ใช่อุปสรรค์ของเลนส์ตัวนี้แม้แต่น้อย ถ่ายเส้นตรงต่างๆ สบาย  และไม่มีปัญหานะครับ
ด้วยความที่เป็นเลนส์ F แคบมาก ฉะนั้นการถ่ายภาพโดยใช้ F กว้างสุดก็ไม่เป็นอุปสรรค์เท่าใดนักครับ คมจัด แต่ปัญหาคือ เดฟที่น้อยกว่ามาตรฐานเยอะ
เวลาติดขอบดำที่ 12-17mm ก็จะหน้าตาเป็นแบบนี้ครับ ได้อารมณ์ Circular Fisheye ดี
มาโครหล่ะถ่ายได้ไม๊ ไม่มีอะไรที่ TechXcite ทำไม่ได้ครับ ลองให้ดูแน่นอนสำหรับ Macro
 Portrait ไม่มีพริตตี้ เอาคุณยายผมเองลองถ่ายดู ยิ่งถ่ายแนวตั้ง หน้าก็จะยาวมากๆ ครับ ใครชอบถ่ายแล้วผอมเลนส์นี้เลยครับ
โบเก้ยังไงก็กลมครับเพราะรูรับแสงแคบซะเหลือเกิน
แฉกของแสงไฟหล่ะ แน่นอนไม่ค่อยสวยนักเพราะมีแค่ 6 กลีบตามสเปค
สรุป เมื่อพูดถึงประโยชน์ใช้งานของเลนส์นี้แล้ว ก็มักจะนำไปใช้ในสถานที่แคบๆ ต้องการให้เห็นอะไรกว้างๆ สำหรับ Full Frame บางทีก็บอกว่า 28mm กว้างแล้ว แต่สุดท้ายคุณก็จะรัก Sigma  12-24mm ตัวนี้อย่างแน่นอนถ้าได้ลอง นี่ครับผมลองถ่ายภาพจากเบาะหลังของ Toyota Vios กว้างยังกับ Lexus เลยทีเดียว

ข้อดี

  1. กว้างมากถึงมากที่สุด

  2. ความคมที่ F8-11 คมจัด

  3. ฮู้ดถอดได้ 2 แบบ

  4. ใช้กับกล้อง Full Frame ก็ได้ กล้องตัวคูณก็ได้

  5. โฟกัสไว

จุดสังเกต

  1. ขอบดำเยอะมากที่ F กว้างๆ บน Full Frame

  2. F ไม่คงที่ และไม่กว้าง

  3. ย้อนแสงฟุ้งพอตัวต้องแก้ใน Photoshop



    ขอขอชคุณแหล่ฝที่มา : http://www.techxcite.com/topic/6322/3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น